วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่6

  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู

       ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพนั้น ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง และสำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน  ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญมาก
          มาตรฐานวิชาชีพ เป็นจุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด ไม่วาวิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญโดยมีมตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

         มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ

๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่

มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม

พื้นฐานและแนวคิด
          พื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น แต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น

          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศด้วย
        การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ  ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน       
         สำหรับการใช้มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาก็ย่อมมีความต่างกันนอกนั้น ยังต้องขึ้นกับแนวความคิดความเชื่อของการกำหนดและการใช้มาตรฐานวิชาชีพที่มีความต่างระดับการศึกษา เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา ระดับการอาชีวศึกษา และระดับการอุดมศึกษาเป็นต้น อย่างไรก็ดีในฐานะที่คุรุสภามีความเกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคคลอื่นทางการศึกษาทั่วประเทศ ก็ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่5

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ       สิ่งที่ได้รับ  คือ  การเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  ในบทความนี้จะสามารถทำให้รู้ถึงต้นแบบที่ดีที่จะเป็นแม่แบบและเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง   
       จากบทความเราสามารถรู้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่มีความเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมได้    คนที่จะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ  ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน  และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
       1.  ทำให้รู้ว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย  และปราถนาดีต่อลูกศิษย์เสมอ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
       2.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
       3.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
      

กิจกรรมที่4

ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง


         ภาวะการเปลี่ยนแปลงของการเป็นผู้นำ คือ  การที่จะเป็นผู้นำคนจะต้องมีความทันสมัย ฉลาด มีความสามารถหลายด้าน และจะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดี อุปนิสัยดี และต้องมีความเสียสละ เคารพในการตัดสินปัญหา และไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นสำคัญ และการที่จะเป็นผู้นำจะต้องเข้ากับสังคมได้ดี มีการทำงานเป็นทีม จะได้มีหลากหลายความคิดเพื่อที่จะให้งานออกมามีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

Prince William of Wales RAF.jpg
                      พระประวัติ

     เจ้าชายวิลเลียมประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525โรงพยาบาลเซนต์มารีส์ เขตแพดดิงตัน ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน พระชนกของพระองค์คือ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ ส่วนพระชนนีคือ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ธิดาคนเล็กของจอห์น สเปนเซอร์ เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8 และ ฟรานเซส รูธ เบิร์ค-รอช ในฐานะพระราชนัดดาในพระประมุขแห่งอังกฤษ และพระโอรสของเจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าชายทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince William of Wales) ทรงมีหมายเลขบัตรประชาชน คือ I00000172
เจ้าชายวิลเลียมทรงเข้ารับศีลจุ่ม (บัพติศมา) จาก ดร. โรเบิร์ต รันซี อัครมหาสังฆราชแห่งเคนเทอเบอรีในเวลานั้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2525 ณ ห้องทรงดนตรี พระราชวังบัคคิงแฮม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี พระปัยยิกา (ย่าทวด) ครบรอบ 82 พรรษา โดยทรงมีพระชนกและพระชนนีอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ เซอร์ ลอเรนซ์ ฟอน แดร์ โพสต์ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา ดัชเชสแห่งเวสต์มินส์เตอร์ ลอร์ดบราเบิร์น และเลดี้ ซูซาน ฮูสซีย์
เจ้าชายวิลเลียมทรงสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งผ่านทางพระอัยกาฝ่ายพระชนนี เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ จะทรงเป็นพระประมุขพระองค์แรกนับตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ที่สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
เมื่อครั้นยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงมีพระนามเรียกเล่นว่า "วอมแบ็ต" (มาร์ซูเปียเลียในออสเตรเลีย) หรือ "วิลส์" (ชื่อย่อของ "วิลเลียม" ในภาษาอังกฤษ) และทรงมีพระอนุชาหนึ่งองค์คือ เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งประสูติตามหลังพระองค์ 2 ปี
เจ้าชายวิลเลียมเคยทูลพระชนนี (เจ้าหญิงไดอานา) ว่าพระองค์อยากเป็นตำรวจเมื่อพระองค์โตขึ้น เพื่อที่จะได้ปกป้องพระชนนีของพระองค์ แต่พระอนุชา (เจ้าชายแฮร์รี่) กลับบอกพระองค์ว่า "พี่เป็นมิได้หรอก พี่จะต้องเป็นกษัตริย์"  การปรากฏตัวของพระองค์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกคือเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 (วันเซนต์เดวิดส์) ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมเมืองคาร์ดิฟฟ์ แคว้นเวลส์ กับพระชนกและพระชนนี หลังจากที่พระองค์เสด็จถึงแคว้นเวลส์ พระองค์เสด็จต่อไปที่มหาวิหารลันดาฟฟ์ พระองค์ทรงพระปรมาภิไธยในสมุดบันทึกผู้เดินทาง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่าทรงใช้พระหัตถ์ด้านซ้ายเขียนหนังสือ
วันที่ 3 มิถุนายนของปีเดียวกัน เจ้าชายวิลเลียมทรงถูกส่งไปยังโรงพยาบาลรอยัลเบิรค์เชอร์ หลังจากที่ทรงถูกตีตรงพระนลาฏ อย่างไรก็ตามพระองค์มิได้ทรงหมดสติ แต่มีรอยร้าวที่พระเศียรของพระองค์ และทรงเข้ารักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลเกรทออร์มอนด์สตรีท โดยมีผลให้ทรงมีแผลนั้นตลอดพระชนชีพ
วันที่ 16 พฤศจิกายน สำนักพระราชวังอังกฤษได้ประกาศว่า เจ้าชายวิลเลียมจะทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับนางสาวเคท มิดเดลตัน พระสหายสนิทที่คบหากันมาประมาณ 6 ปี ในกลางปีพ.ศ. 2554
การศึกษา
  • ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลป์ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A)
  • พ.ศ. 2544 - ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ในสกอตแลนด์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
  • พ.ศ. 2553 - ฝึกนักบินเฮลิคอปเตอร์ซี คิงของหน่วยค้นหาและกู้ภัยของกองทัพอากาศ

พระสหายหญิง

กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีข่าวคราวพระองค์จะทรงหมั้นกับ เคท มิดเดลตัน ทายาทบริษัทจิ๊กซอว์ ก่อนที่จะมีการประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ว่าพระองค์ได้ทรงหมั้นกับมิดเดลตันแล้ว โดยคาดว่าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสจะมีขึ้นในกลางปี พ.ศ. 2554 ในกรุงลอนดอน

กิจกรรมที่2

1.ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี

การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
                      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น

        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
2.  นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     สามารถนำไปใช้ในด้านการเข้าใจคน  เข้าใจการพัฒนาของมนุษย์  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม  การมีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นๆ  การพัฒนาการคิดให้มีระบบโดยที่สามารถใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

กิจกรรมที่1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง



ชื่อ  นางสาวซากีเราะห์    ดือเย๊ะ

ชื่อเล่น  Yah

สถานภาพ   โสด

จบการศึกษาจาก  โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์  (นราธิวาส)

ปัจจุบัน  กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คติประจำใจ  จงมองไปข้างหน้าด้วยความหวัง .....  แต่อย่ามองกลับหลังด้วยความเสียดาย

การจัดการบริการในชั้นเรียน