การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2. การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3. ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4. การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น 3 ประเภท
1. ครูที่มีเผด็จการ ลักษณะของครูเช่นนี้ จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2. ครูที่มีความปล่อยปะละเลย ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3. ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของนักเรียน
วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่6
สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพนั้น ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง และสำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญมาก
มาตรฐานวิชาชีพ เป็นจุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด ไม่วาวิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญโดยมีมตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด
พื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น แต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน
สำหรับการใช้มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาก็ย่อมมีความต่างกันนอกนั้น ยังต้องขึ้นกับแนวความคิดความเชื่อของการกำหนดและการใช้มาตรฐานวิชาชีพที่มีความต่างระดับการศึกษา เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา ระดับการอาชีวศึกษา และระดับการอุดมศึกษาเป็นต้น อย่างไรก็ดีในฐานะที่คุรุสภามีความเกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคคลอื่นทางการศึกษาทั่วประเทศ ก็ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา
ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพการที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพนั้น ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง และสำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญมาก
มาตรฐานวิชาชีพ เป็นจุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด ไม่วาวิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญโดยมีมตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด
พื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น แต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศด้วย
การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน
สำหรับการใช้มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาก็ย่อมมีความต่างกันนอกนั้น ยังต้องขึ้นกับแนวความคิดความเชื่อของการกำหนดและการใช้มาตรฐานวิชาชีพที่มีความต่างระดับการศึกษา เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา ระดับการอาชีวศึกษา และระดับการอุดมศึกษาเป็นต้น อย่างไรก็ดีในฐานะที่คุรุสภามีความเกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคคลอื่นทางการศึกษาทั่วประเทศ ก็ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่5
สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ สิ่งที่ได้รับ คือ การเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป ในบทความนี้จะสามารถทำให้รู้ถึงต้นแบบที่ดีที่จะเป็นแม่แบบและเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง
จากบทความเราสามารถรู้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่มีความเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมได้ คนที่จะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
1. ทำให้รู้ว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์เสมอ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
2. ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
3. ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
จากบทความเราสามารถรู้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่มีความเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมได้ คนที่จะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
1. ทำให้รู้ว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์เสมอ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
2. ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
3. ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
กิจกรรมที่4
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
ภาวะการเปลี่ยนแปลงของการเป็นผู้นำ คือ การที่จะเป็นผู้นำคนจะต้องมีความทันสมัย ฉลาด มีความสามารถหลายด้าน และจะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดี อุปนิสัยดี และต้องมีความเสียสละ เคารพในการตัดสินปัญหา และไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นสำคัญ และการที่จะเป็นผู้นำจะต้องเข้ากับสังคมได้ดี มีการทำงานเป็นทีม จะได้มีหลากหลายความคิดเพื่อที่จะให้งานออกมามีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)