คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
- ไม่ค่อยเหมาะ เนื่องจากเด็กและผู้ใหญ่ในยุคนี้จะไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของการบริโภค ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับราคา ปริมาณ และจะไม่ค่อยเน้นคุณภาพ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคอ้วน ความดัน เป็นต้น
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
- กิจกรรมที่สำคัญของเด็กปัจจุบันนี้ คือ การเล่นเกมส์หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่ค่อยสนใจในเรื่องการออกกำลังกายสักเท่าไรนัก จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา ปัจจุบันถือว่าปฏิทินการออกกำลังกายของเด็กมีน้อยมาก
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
- มี แต่บางสถานการณ์เราไม่อาจจะควบคุมได้ เนื่องจากความพยายามของเราได้ประสบความสำเร็จ นั่นบ่งบอกให้เราทราบว่า เราทำสำเร็จแล้วตามความคาดหวังและตั้งใจไว้
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
- เพียงพอแล้ว เนื่องจากการออกกำลังกายนั้นเราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ถือว่าได้ออกกำลังกายแล้ว
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
- ไม่มากนัก อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการที่จะจำแนก เด็กปกติกับเด็กเสี่ยง
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
- จะเรียกนักเรียนที่เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงมารวมตัว แล้วประชุมพร้อมกันว่า จะทำอย่างไรให้เด็กๆ มีการเรียนที่ดีขึ้น โดยให้เด็กออกความคิดเห็นเอง เพื่อใช้เป็นแนวให้กับตนและเพื่อนๆ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
- มี แต่ยังไม่ครอบคลุมพอ เนื่องจากหลักสูตรในประเทศไทย ยังเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เรียน
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
- น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเน้นการเรียน การสอนมากกว่า
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ฯลฯ
- สังเกต ครู พ่อ แม่ จะทราบถึงพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือแย่ลงของนักเรียนหรือลูกหลานของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น